อนิเมะ กับประวัติ และความหมาย ที่น่าทึ่ง


2432 views

อนิเมะ

อนิเมะ (「アニメ」 anime ) เป็นคำภาษาญี่ปุ่น ที่มาจาก ภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชัน (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่ง เศสอะนิเมะ (animé) และจาก ภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว

แต่ความหมายกลายจนเป็น คำเฉพาะ ของภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ภาพยนต์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึง ภาพยนตร์การ์ตูน สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่ มีลักษณะทางศิลปะ แตกต่าง กับภาพยนตร์ การ์ตูน จากแหล่งอื่น

อนิเมะ ส่วนใหญ่ วาดด้วยมือ!!!

อนิเมะส่วนใหญ่ จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันนี้ มีการนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยสร้าง อะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้น เพื่อให้ความบันเทิง เหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลาย และครอบคลุม แนววรรณกรรม เกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ ถูกสร้างขึ้นเป็นตอนๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์

ส่วนหนึ่ง ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ การ์ตูนเรื่องยาว เพื่อฉาย ในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอนๆ เพื่อขายตรง ในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการ ทำตอนเฉพาะ ที่เรียกว่า โอวีเอ อนิเมะหลายเรื่อง ถูกดัดแปลง มาจากมังงะ นอกจากนี้ ยังมีอนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลง เป็นละครโทรทัศน์อีกด้วยนะครับเนี่ย

อนิเมะ คืออะไร

Anime คืออะไร สำหรับสาวก การ์ตูน ทั้งหลาย ทั้งปวง คงรู้จักคำนี้ ดีอยู่แล้ว อาจจะรู้จักดีกว่าเรื่องเรียนอีก แต่บางคนนะครับ ที่เป็นเด็กตั้งใจเรียน หรือไม่ได้สนใจ การ์ตูนไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือ ทางทีวี คงยังไม่รู้จัก ดังนั้น เพื่อทุกคน จะได้เข้าใจ ร่วมกัน จะเริ่มจากอธิบาย ความหมายของอนิเมะ ก่อนแล้วกันครับ sagaming

ประวัติ การ์ตูน ในตำนาน อนิเมะ

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักสร้างภาพยนตร์ ชาวญี่ปุ่นเริ่มทดลอง ใช้เทคนิค การสร้างภาพยนตร์ การ์ตูน ซึ่งกำลังถูกพัฒนาขึ้น ในสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างภาพยนตร์ การ์ตูนของตนเอง ในทศวรรษที่ 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น ได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยก ออกจากภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์การ์ตูนหุ่นยนต์ยักษ์ซึ่งไม่สามารถหาได้ในสหรัฐอเมริกาเลย

ในทศวรรษที่ 1980 อะนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น

ทำให้ธุรกิจการสร้างอะนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอะนิเมะ ได้แพร่ขยายไปยังนอก ประเทศญี่ปุ่น พร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาด อนิเมะ นอกประเทศ

คำศัพท์ ที่น่ารู้

“อนิเมะ” (アニメ) เป็นคำย่อของ アニメーション ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ (สังเกตได้ว่าเขียนเป็นคะตะคะนะ) “แอนิเมชัน” (animation) ซึ่งหมายความถึงภาพยนตร์การ์ตูน คำทั้งสองคำนี้ สามารถใช้แทนกันได้ในภาษาญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรูปย่อเป็นที่นิยมใช้มากกว่า คำว่า “อะนิเมะ” มีขอบเขตกว้างครอบคลุมภาพยนตร์การ์ตูนทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่ที่แนวหรือรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูนใดๆ

“เจแปนิเมชัน” (Japanimation) ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า “เจแปน” (Japan) กับ “แอนิเมชัน” เป็นคำอีกคำ ที่มีความหมายเหมือน “อะนิเมะ” คำนี้นิยมใช้ กันมากในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แต่มีคนใช้น้อยลงตั้งแต่ปี 1990

และหมดความนิยมลงก่อนกลางทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันคำนี้ถูกใช้อยู่แค่ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์การ์ตูนทั่วๆ ไป (ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ว่า ” อนิเมะ “) และภาพยนตร์การ์ตูน ที่ผลิตภายในประเทศ

ภาษาไทยในสมัยก่อนใช้คำว่า “ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น” แทนอะนิเมะ คำทับศัพท์ “อะนิเมะ” นั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ แต่ปัจุบันคำว่า “อะนิเมะ” หรือ “อะนิเมะ” นั้นกลับเป็นคำที่นิยมในหมู่เด็กวัยรุ่นไทยที่ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ใช้เรียกแทนคำว่า”ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น”ของสมัยอดีต

อนิเมะ

ลักษณะเฉพาะตัว

ตัวอย่างตัวละครอะนิเมะ “วิกิพีตัง”
ถึงแม้อะนิเมะ แต่ละเรื่อง จะมีลักษณะทางศิลปะ เฉพาะตัวซึ่งขึ้นอยู่กับศิลปินแต่ละคน โดยรวมแล้วเราอาจกล่าวได้ว่า ลักษณะเฉพาะตัวของอะนิเมะ คือการใช้ลายเส้นที่คม และสีสันที่สดใส มาประกอบ เป็นตัวละคร ที่มีรายละเอียดสูง

ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของอะนิเมะคือความหลากหลายของแนวเรื่องและกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ผิดกับภาพยนตร์การ์ตูนของฝั่งตะวันตกที่เกือบทั้งหมดมียุวชนเป็นกลุ่มเป้าหมาย

อะนิเมะ ที่มีหลากหลายแนว

อนิเมะ มีอยู่หลายแนวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น แอคชัน, ผจญภัย, เรื่องสำหรับเด็ก, ตลก, โศกนาฏกรรม, อีโรติก (ดูเพิ่ม: เฮ็นไต) , แฟนตาซี, สยองขวัญ, ฮาเรม ,โรแมนติก, และนิยายวิทยาศาสตร์

อะนิเมะส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาจากแนวอะนิเมะมากกว่าหนึ่งแนว และอาจมีสารัตถะมากกว่าหนึ่งสารัตถะ ทำให้การจัดแบ่งอะนิเมะเป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องปกติที่อะนิเมะแนวแอคชันส่วนใหญ่จะสอดแทรกด้วยเนื้อหาแนวตลว รักโรแมนติก

และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมปนอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันอะนิเมะแนวรักโรแมนติกหลายเรื่องก็มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือดไม่แพ้อะนิเมะแนวแอคชันเลยแนวที่สามารถพบได้แค่ในอะนิเมะและมังงะได้แก่ (สำหรับแนวอื่นๆ ดูรายชื่อแนวภาพยนตร์)

• บิโชโจะ: (ภาษาญีปุ่นหมายความว่า “เด็กสาวหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กสาวหน้าตาสวยงาม เช่น เมจิกไนท์เรย์เอิร์ท

• บิโชเน็น: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กหนุ่มหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาและท่าทางสง่างาม เช่น ฟูชิกิยูกิ

• เอดชิ: มีรากมาจากตัวอักษร “H” ในภาษาญี่ปุ่นหมายว่า “ทะลึ่ง” อะนิเมะในแนวนี้จะมีมุขตลกทะลึ่งแบบผู้ใหญ่ และมีภาพวาบหวามแต่ไม่เข้าข่ายอนาจารเป็นจุดขาย ตัวอย่างเช่น คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด Slotxo

• เฮ็นไต: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “ไม่ปกติ ในแง่จิตใจ” หรือ “วิตถาร”) เป็นคำที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับเรียกอะนิเมะที่จัดได้ว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร ในประเทศญี่ปุ่นเรียกอะนิเมะประเภทนี้ว่า 18禁アニメ (อ่านว่า “จูฮาจิคินอะนิเมะ”; อะนิเมะสำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี) หรือ エロアニメ (อ่านว่า “เอะโระอะนิเมะ”; มาจาก “erotic anime” แปลว่า “อะนิเมะที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ) ตัวอย่างเช่น ลาบลูเกิร์ล)

• เมะกะ: อนิเมะ ที่มีหุ่นยนต์ยักษ์ เช่น โมบิลสูทกันดั้ม

• อะนิเมะสำหรับเด็ก: มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ตัวอย่างเช่น โดราเอมอน

• โชเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ้มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชาย เช่น ดราก้อนบอล

• โชโจะ: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง เช่น เซเลอร์มูน

• เซเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชายตอนปลายถึงผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี เช่น โอ้! มายก็อดเดส

• โจะเซ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ผู้หญิงอายุน้อย”) อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 ปี ตัวอย่างเช่น นานะ

• มะโฮโชโจ: แนวย่อยหนึ่งของอะนิเมะแนวโชโจะ มีตัวละครหลักเป็นเด็กผู้หญิงที่มีพลังวิเศษอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น การ์ดแคปเตอร์ซากุระ slotxo

• มะโฮโชเน็น: เหมือนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ตัวเอกเป็นผู้ชาย เช่น ดี.เอ็น.แองเจิล

• โชโจะไอ/ยุริ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง เช่น สตรอเบอรีพานิก

• โชเน็นไอ/ยะโอะอิ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย เช่น กราวิเทชัน

สรุป เรื่องประวัติ ของอนิแมะ ที่มาอันน่า ทึ่งนี้ เรื่องราวเเต่ละเรื่อง ของอนิเมชั่น ก็แตกต่างกันอีกด้วยครับ น่าสนใจสุด

อัพเดทล่าสุด : 25 สิงหาคม 2022

joker joker joker