2477 views
เนื่องจากสถานการณ์ ไวรัสโควิด ปัญหาเศรษฐกิจ ตกต่ำ ยืดเยื้อ และทวีความรุนแรง ขึ้น ปัญหาการเลิกจ้าง และการว่างงาน ที่สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์ จึงเป็นเรื่องลำบากอย่างยิ่งสำหรับลูกหนี้ กยศ. ที่จะสามารถชำระหนี้ตามกำหนด ยังส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระสูงขึ้น
กองทุนกยศ.
มีบทบาท ในการช่วยเหลือ ลดความเหลื่อมล้ำ ทางการศึกษา และสมควรยิ่ง จะเป็นสิทธิและสวัสดิการของรัฐ ในการพัฒนา ประชาชนไทยทุกคน การตัดสินใจ ให้ความช่วยเหลือ ด้วยการพักหนี้ ในสภาวะเช่นนี้ จึงสมควรเป็นอย่างยิ่ง สอดคล้องกับ การช่วยเหลือ ทางการเงินของสถาบันการเงิน ของรัฐและเอกชนในขณะนี้
สอดรับ กับพรรคประชาธิปัตย์ ศิริภา อินทวิเชียร รองโฆษกพรรค ประชาธิปัตย์ (ปชป.) แถลงขอให้รัฐบาลพิจารณา แนวทางช่วยเหลือ และเยียวยานักเรียน นักศึกษา ซึ่งกู้ยืมเงินกองทุนกู้ยืม เพื่อการศึกษา (กยศ.)
ที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์ โควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์ การระบาดของไวรัส ส่งผลกระทบกับผู้ กู้ยืมเงิน จากกองทุน กู้ยืมเพื่อ การศึกษา โดยจำนวน หนึ่งถูกเลิกจ้าง และนักเรียน นักศึกษา ไม่สามารถทำกิจกรรม จิตอาสาตามเงื่อนไขที่กำหนด
ที่ผ่านมา กองทุนกู้ยืม เพื่อการศึกษา ได้กำหนดเงื่อนไข ให้นักเรียนนักศึกษา ทำกิจกรรมจิตอาสาปีละ 36 ชั่วโมง แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถดำเนินกิจกรรมจิตอาสาได้ จึงเห็นว่าควรพิจารณาลดจำนวนชั่วโมง และเพิ่มแนวทางในการทำกิจกรรมเป็นการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ที่บ้านทดแทน
“ควรพิจารณามาตรการผ่อนผันการชำระหนี้ หรือพักหนี้ สำหรับผู้ที่ กำลังชำระหนี้ กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ที่ได้รับผลกระทบ จากการถูกเลิกจ้าง ไปจนสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลาย” นางสาวศิริภา กล่าวว่า กยศ. กลับพิจารณาข้อเสนอทั้งปชป.-ก้าวไกล แบบไหนหรือ จึงออกมาตรการ 8 ข้อ สร้างเงื่อนไขขัดแย้งและส่อไปในทางแบ่งชนชั้นลูกหนี้ ทำให้กลายเป็นกระแสความไม่พอใจ
โดยเฉพาะกรณี ข้อ พักชําระหนี้ให้แก่ผู้กู้ยืม ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 ปี ซึ่งถูกมองว่าไม่เป็นธรรมเท่าเทียม ลูกหนี้ ทุกคนหรือไม่ เพราะทุกคนทั่วประเทศ ประสบปัญหาโควิด-19เหมือนๆ กัน และรัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วประเทศ เพื่อแก้ปัญหา แต่กระทบทุกคน ย่อมช่วยเหลือลูกหนี้ให้เท่าเทียม
แน่นอนว่า ทุกคนที่เป็นหนี้ต้องจ่ายหนี้ กยศ. แต่เมื่อไม่มีรายได้ และรายได้ลดลง เพราะวิกฤติเลวร้ายขนาดนี้..ไม่น่าใช่ “เราไม่ทิ้งกัน” !!
ส่วนลูกหนี้ที่มีการประนอมหนี้กับ กยศ. ก่อนปี 2562 กองทุนฯ กำลังพิจารณา ให้ความช่วยเหลือเช่นกันขณะเดียวกัน กยศ. กำลังศึกษา ออกมาตรการช่วยเหลือ ผู้กู้เรียน นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในครอบครัว ผู้มีรายได้น้อย และถือบัตรสวัสดิการ แห่งรัฐ ให้ได้สิทธิพิเศษ ในการกู้ยืมเพิ่มขึ้น แต่ยังระบุไม่ได้ว่าเป็นอะไร ส่วนมาตรการการหักบัญชีเงินเดือนลูกหนี้ ขณะนี้มีลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ
และเอกชนเข้าร่วมแล้ว 7.6 แสนราย ส่งผลให้กองทุนมีการชำระหนี้กลับเข้ามาเพิ่มขึ้น ตกเดือนละ 420 ล้าน ต่อเดือน และคาดการณ์ว่า ณ สิ้นปี กองทุนจะมีเงินชำระหนี้ได้ถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สามารถช่วย นักเรียนมีทุนในการเรียนหนังสือได้ 600,000 รายในแต่ละปี
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย จัดทำแอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” โดยสามารถดาวน์โหลดเพื่อทำการชำระหนี้ ตรวจเช็กยอดเงินต้น ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับได้ ซึ่งมีผู้ใช้งานแล้วกว่า 1 หมื่น พร้อมกันนี้ ยังได้เปิดไลน์ Line@กยศ. ให้ทำการสอบถามปัญหาการกู้ยืม โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตอบคำถามภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการโทรเข้ามาถามจนโทรศัพท์ล่ม
สำหรับจำนวนนักเรียนที่กู้ยืม กยศ. ในปัจจุบัน มี 5.6 ล้านคน คิดเป็นมูลหนี้ 6.03 ล้านบาท แบ่งเป็นอยู่ระหว่างการศึกษา 5.98 แสนคน อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 3.78 แสนคน ชำระหนี้เสร็จสิ้น 1.02 ล้านคน อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3.54 ล้านคน และอื่นๆ กรณีเสียชีวิตและทุพลภาพ 5.6 หมื่นคน ทั้งนี้ ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3.54 ล้านคน คิดเป็นมูลหนี้ 4.11 แสน ล้านบาท
นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รายงานความนำคัญ และประโยชน์ ที่ประชาชน จะได้รับจากร่างพระราชบัญญัติ กองทุนเงิน ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. …. ที่สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายแล้วเสร็จ
สาระสาคัญของร่างพระราชบัญญัติ
โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับคือ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไข ความเหลื่อมล้าด้านการศึกษาในสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ และเป็นการบูรณาการการบริหารจัดการและการดาเนินการของกองทุนเงิน
ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) และกองทุนเงินกู้ยืม เพื่อการศึกษา ที่ผูกกับรายได้ ในอนาคต (กรอ.) ให้เป็น เอกภาพอยู่ภายใต้ กฎหมายเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาโดยการให้เงินกู้ยืม เพื่อ การศึกษา ครอบคลุมถึง กรณีการขาดแคลน ทุนทรัพย์ การศึกษา ในสาขาวิชา ที่เป็นความต้องการ หลัก ต่อการผลิตกำลังคน และมีความจำเป็น ต่อการพัฒนาประเทศ สาขาวิชา ที่ขาดแคลน หรือที่มุ่งส่งเสริมเป็น พิเศษ
รวมทั้ง ให้ความช่วยเหลือ แก่นักเรียนหรือนักศึกษา ที่เรียนดีเพื่อสร้างความเป็นเลิศ และกาหนดให้ สถานศึกษา ที่จะเข้าร่วมดาเนิน งานกับกองทุน จะต้องมีมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองให้ผู้กู้ยืมเงินได้รับบริการ ทางการศึกษา ที่มีคุณภาพ และเพิ่มมาตรการ เกี่ยวกับการเร่งรัด และติดตาม การชำระเงินคืนกองทุนให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.
เว็บพนันคุณภาพ ที่คัดสรร เกมสนุกๆ พร้อมให้คุณรวยตลอดเวลา นี่เลยครับ SlotXo เว็บเดียวรู้เรื่อง
อัพเดทล่าสุด : 26 สิงหาคม 2022